บทความนี้เกี่ยวกับโรคกาแฟ เป็นเพียงการยกตัวอย่างของบางโรคที่ ทางบ้านไร่ตะวันนา นั้นได้เจอ และ รับมือกับปัญาหาโรคร้าย เป็นโรคที่ร้ายสำหรับชาวไร่กาแฟที่ทำให้ผลผลิตนั้นเสียหายมาก จึงอยากแชร์ความรู้ ให้ชาวคอกาแฟได้รู้ถึง ปัญหาที่ชาวไร่จะต้องเจอกัน.

 
image

มอดเจาะผลกาแฟ (Coffee Berry Borer; CBB)

ป็นแมลงศัตรูที่สำคัญต่อการปลูกกาแฟในหลายพื้นที่ สร้างความ เสียหายให้กับผลผลิตกาแฟได้มากถึง 50 เบอร เซ็นต่อผลกาแฟที่ถูก เจาะจะเป็นช่องทางให้เชื้อราและเชื้อแบคทีเรียเข้าทำลายซ้า ผลร่วงเสียหายผลผลิตและคุณภาพของกาแฟลดลง มอดเจาะผลกาแฟ เป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็ก ขนาด 1.2-1.5มิลลิเมตร ลำตัวสีดำขยายพันธุ ได้ 8-9 รุ่นต่อปีเพศเมียวางไข่ได้ 20-80 ฟองวงจรชีวิต28-34 วันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม

การป้องกันกำจัด
1. สำรวจการระบาดของมอดเจาะผลกาแฟอย่างสม่ำเสมอ
2. รักษาความสะอาดแปลงตัดแต่งกิ่งและทรงพุ่มให้โปร่ง เก็บเกี่ยวผลกาแฟให้หมดต้นเก็บผลกาแฟที่ถูกมอดเจาะทำลายออกไปทำลายนอกแปลง เพื่อลดการระบาดของมอดเจาะผลกาแฟที่อยู่ในผล
3. วางกับดักและสารล่อมอดเจาะผลกาแฟ (เมทิลแอลกอฮอล : เอทิลแอลกอฮอล อัตราส่วน1:1)  อัตรา5-10 จุดต่อไร่และเติมสารล่อทุกๆ 2 สัปดาห์ 
4. ใช้เชื้อราบิวเวอเรียบาสเซียนาสายพันธุ ดีโอเอบี4
( Beauveria bassiana สายพันธุ ์DOA B4) ซึ่งมีความเฉพาะเจาะจงกับมอดเจาะผลกาแฟ อัตรา1 ถุง(200 กรัม) ต่อน้ำ 10 ลิตร ฉีดพ่นเดือนละ1 ครั้งในช่วงติดผลจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต
 
โรคแอนแทรคโนสเกิดจากเชื้อรา (Colletotrichum coffeanum)
จะพบในระยะที่ต้นกาแฟเริ่มติดผลจนถึงระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต อาการที่ใบ พบได้ทั้งใบอ่อนและใบแก่ ลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล เนื้อเยื่อกลางแผลตาย ถ้ารุนแรงแผลขยายขนาดเป็นแผลใหญ่ ทำให้ใบแห้งไหม้ทั้งใบ อาการที่กิ่ง จะพบบนกิ่งเขียวไหม้ ทำให้ใบเหลืองและร่วง กิ่งเหี่ยวและแห้งทั้งกิ่ง อาการที่ผล พบได้ทั้งผลอ่อนและผลแก่ เริ่มแรกผลจะมีจุดสีน้ำตาลเข้ม หากรุนแรง จุดขยายรวมกันเป็นแผลรูปร่างไม่แน่นอน เนื้อเยื่อแผลยุบตัว กรณีพบที่ผลอ่อนจะทำให้ผลไม่พัฒนาเป็นเมล็ดและเปลี่ยนเป็นสีดำ แต่ผลยังคงติดอยู่บนกิ่งต้นกาแฟ ส่วนพบที่ผลแก่จะทำให้ผลสุกแก่เร็วขึ้น
การป้องกันกำจัด
1.เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกและเก็บผล ตัดแต่งกิ่ง ใบ ดอก และส่วนที่เป็นโรคที่ร่วงอยู่ใต้ต้น นำไปทำลายนอกแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ
2.ควรรักษาระดับร่มเงาให้เหมาะสม เพื่อรักษาระดับความชื้นและช่วยป้องกันการเกิดโรค
3. กรณีพบโรคเริ่มระบาดที่บริเวณใบ กิ่ง ดอก และผลอ่อน ให้เกษตกรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เบโนมิล 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และควรหยุดพ่นสารเมื่อผลกาแฟเริ่มแก่จนถึงระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต 
4.เก็บเกี่ยวผลผลิตกาแฟเรียบร้อยแล้ว ให้เกษตรกรตัดแต่งกิ่ง ทรงพุ่ม ใบ และเก็บผลที่เป็นโรคไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อให้โล่ง โปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก และแสงแดดลอดผ่านได้ จากนั้นให้ใส่ปุ๋ยบำรุงต้น เพื่อให้ต้นกาแฟมีความแข็งแรง
image
image

เพลี้ยหอยเขียว (Green Coffee Scale)

ลักษณะการเข้าทำลายเป็นเพลี้ยหอยเกราะอ่อนรูปร่างรีสีเหลืองปนเขียวหลังนูนทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณกิ่งก้านและใบทำให้ใบร่วงต้นกาแชะงักการเจริญเติบโต และทรุดโทรมลงหากระบาดในระยะติดผลจะทำให้ผลอ่อนมีขนาดเล็กลง เมล็ดลีบและผลร่วงนอกจากนี้เพลี้ยหอยเขียวยังถ่ายน้าหวาน์(honey dew)์ขึ้นปกคลุมผิวใบ์ส่งผลให้พื้นที่ในการสังเคราะห แสงลดลงและเป็นแหล่งเพาะราดำ

การป้องกันกำจัด
1.ทำความสะอาดแปลงและหมั่นตรวจดูตามยอดอ่อน์ใบอ่อน์กิ่งก้าน์ใบของกาแฟอยู่เสมอ
2.เมื่อพบการเข้าทำลายให้ตัดบริเวณที่ถูกทำลายออกไปเผาทำลายนอกแปล
3.พ่นไวท ออย 67เปอร เซ็นต อีซี (%EC)์ อัตรา 100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

 

เพลี้ยแป้งกาแฟ (Coffee Mealybug)

ลักษณะการเข้าทำลายเป็นเพลี้ยแป้งรูปไข่สีชมพูปนม่วงอ่อนมีไขสีขาวปกคลุมอยู่รอบลำตัว มีขนาดสั้นไขทางปลายยาวกว่าเล็กน้อยไขบนหลังบางจนเห็นเป็นเส้นจางๆกลางลำตัว และมีขนแข็ง(setae)์ค่อนข้างยาวทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณยอดอ่อนกิ่งก้านใบทำให้ยอดหงิกงอผิดรูปต้นชะงักการเจริญเติบโตและทรุดโทรมลง

การป้องกันกำจัด
1.ทำความสะอาดแปลงและหมั่นตรวจดูตามยอดอ่อนใบอ่อน์กิ่งก้านใบของกาแฟอยู่เสมอ
2.เมื่อพบการเข้าทำลายให้ตัดบริเวณที่ถูกทำลายออกไปเผาทำลายนอกแปลง
3.พ่นไวท ออย 67 เปอร เซ็นต อีซี (%EC) อัตรา 100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ พ่นสารฆ่าแมลงได้แก่ ไดโนทีฟูแรน 10 เปอร เซ็นต ดับเบิ้ลยูพี(%WP) อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ไทอะมีโทแซมเปอรเซ็นต ดับเบิ้ลยูพี (%WP) อัตรา3 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และอิมิดาโคลพริด 70 เปอร เซ็นต ดับเบิ้ลยูจี (%WG)์ อัตรา4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

image

ขอขอบคุณ และ ขออนุญาตนำข้อมูล มานำเสนอให้เป็นแหล่งความรู้เกี่ยวกับชาวคอกาแฟ ที่สนใจในเรื่อง โรคกาแฟอาราบิก้า 

แหล่งที่มา : สุเมธ พากเพียร, สัญญาณี ศรีคชา, ศิริภรณ์ จรินทร, ฉัตต์นภา ข่มอาวุธ, สุภัทรา เลิศวัฒนาเกียรติ (แมลงศัตรูกาแฟอะราบิกา) ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่
สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร  https://www.doa.go.th/hc/cmrarc/wp-content/uploads/2021/06/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2.pdf

เตรียมรับมือโรคแอนแทรคโนสในกาแฟ https://www.kaset1009.com/th/articles/178630-%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9F

แหล่งที่มารูป : โรคเพลี้ยแป้ง   https://bighealthyplant.com/%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%87/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%87-%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%87/

โรคแอนแทรคโนส https://www.hrdi.or.th/articles/Detail/122

 
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้